Sunday, May 13, 2007

สเตมเซลล์บำบัด (stem cell therapy)

Direct-myocardium Injection( การฉีดสเตมเซลล์เข้าสู่กล้ามเนื้อหัวใจ)
โรคหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง เนื่องจากสภาพการดำเนินชีวิตที่เต็มไปด้วยความเครียด ความเร่งรีบ การขาดการออกกำลังกายและการสูบบุหรี่ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคหัวใจแทบทั้งสิ้น
แต่เดิมนั้น แพทย์จะทำการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจโดยการใช้ยา การผ่าตัดดัวยการทำบายพาสเพื่อแก้ไขเส้นเลือดที่เสียไปโดยทำเส้นเลือดทางเบี่ยงออกจากบริเวณที่อุดตันซึ่งจะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้นด้วย หรืออีกวิธีคือการทำบอลลูนและการดามหัวใจด้วยขดเลือด เพื่อขยายหลอดเลือดเดิมให้เลือดสามารถไหลผ่านได้มากกว่าเดิม ทั้งสามวิธีเป็นวิธีการรักษามาตราฐานที่ได้ผลดี แต่อาจมีการกลับมาตีบตันใหม่ได้ในภายหลัง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ เมื่อรู้สึกดีขึ้นแล้วมักกลับไปดำเนินชีวิตแบบเดิม ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งของผู้ป่วยโรคหัวใจที่กล้ามเนื้อหัวใจตาย สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้คงทำได้เพียงรอเวลาผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจใหม่เพื่อนำมาใช้แทนที่หัวใจเดิม แต่ก็ต้องรอหาหัวใจทีมีการเข้ากันได้ดีของเนื้อเยื่อ และโอกาสที่จะได้มาก็ต่ำมาก อีกทั้งค่าใช้จ่ายก็สูงมากด้วย
ปัจจุบันได้มีนวัตกรรมใหม่ในการรักษาโรคหัวใจด้วยเซลล์ต้นกำเนิด หรือที่เรียกว่า Stem Cell Therapy โดยเซลล์ต้นกำเนิดคือเซลล์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเซลล์อะไรก็ได้ในร่างกายเรา โดยปกติเราจะพบเซลล์เหล่านี้ได้ในไขกระดูก กล้ามเนื้อ และกระแสเลือด แต่สำหรับผู้ใหญ่จะพบได้ในจำนวนน้อย และไม่เพียงพอต่อการรักษา แต่จากการทดลองโดยบริษัท เธราวีเท สามารถเพิ่มจำนวนเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ (Stem Cell)ในห้องทดลองเพื่อให้เพียงพอต่อการรักษา และจากการศึกษาในผู้ป่วยหลายรายพบว่าผลการรักษาที่ได้มีผลที่ดี มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากเซลล์ที่ได้นั้นมาจากเลือดของผู้ป่วยเอง ซึ่งรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดการต่อต้านจากร่างกาย

ขั้นตอนการรักษาโรคหัวใจด้วยเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์(Stem Cell Therapy)
1. นำเลือดของผู้ป่วยออกมา ปริมาณ 250 ซีซี.
2. จำแนกเอา แองจิโอเจนนิก เซลล์ พรีเคอร์เซอร์ (Angiogenic Cell Precursors-ACPs) ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสภาพเป็นเส้นเลือดใหม่ ซึ่งปริมาณที่ได้จะแตกต่างกันไปในแต่ละรายของผู้ป่วย (ส่วนมากจะเป็นหลักหมื่นต่อซีซี.)
3. กระบวนการเพิ่มเซลล์ในห้องทดลองเพื่อให้เพียงพอต่อการรักษา (ขั้นต่ำ 1.5 ล้านเซลล์ต่อซีซี.)
4. ฉีดเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้ปริมาณ 15 ซีซี. กลับเข้ากล้ามเนื้อหัวใจขึ้นมาใหม่ของผู้ป่วยโดยใช้วิธีส่องกล้องผ่านรูเล็กๆ
5. เซลล์ต้นกำเนิดจะสร้างเส้นเลือดฝอยขึ้นมาใหม่เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงยังกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือดซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก และเหนื่อยลดลง เป็นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น
ปัจจุบันทางบริษัท เธราวีเท ได้ดำเนินการสร้างห้องปฏิบัติการสเต็มเซลล์เพื่อเป็นศูนย์วิจัยและผลิตสเต็มเซลล์ในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาลดลง เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการรักษาให้แก่ผู้ป่วยมากขึ้น
หากท่านสนใจข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าชมเวบไซท์ของเราที่ www.vescell.com หรือ http://www.theravitae.com/index.php?lang=th หรือติดต่อเราโดยตรงที่ sairung@theravitae.com

No comments: